เปิดร้านคาราโอเกะ เสียค่าลิขสิทธิ์อย่างไรบ้าง
การเสียค่าลิขสิทธิ์คาราโอเกะ แยกดังนี้
- หากใช้เครื่องเล่นดีวีดี, วีซีดี เปิดเพลงจากแผ่น (แผ่นแท้นะครับ)
ต้องขออนุญาต และชำระค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน
2. หากใช้เครื่องเล่นคาราโอเกะแบบฮาร์ดดิสก์ หรือคอมพิวเตอร์คาราโอเกะ โดยใช้โปรแกรมเปิดเพลงคาราโอเกะแบบวีซีดี เช่น โปรแกรม KaraokeInter, โปรแกรม Iamoke, โปรแกรม HAPPY KARAOKE, หรือโปรแกรม M-BOX ซึ่งต้องใช้วิธี COPY เพลงจากแผ่นวีซีดีคาราโอเกะลงเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ …
ต้องขออนุญาต และชำระค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน และยังขออนุญาตทำซ้ำวีซีดีลงฮาร์ดดิสก์อีกด้วยครับ
3. หากใช้คอมพิวเตอร์คาราโอเกะแบบมิดี้ฟาย เช่น โปรแกรม eXtreme,โปรแกรม Nick karaoke นิคคาราโอเกะ, หรือโบมิวสิค (ประเภทดนตรี MIDI นะครับ)
ต้องขออนุญาต และชำระค่าลิขสิทธิ์ทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณชน และทำซ้ำแบบมิดี้ฟาย เช่นเดียวกัน แต่อัตราค่าทำซ้ำทั้งสองแบบ(ทำซ้ำวีซีดี และทำซ้ำมิดี้ฟาย) ไม่เท่ากัน แต่หากใช้สองระบบทั้งวีซีดีคาราโอเกะ และคาราโอเกะมิดี้ฟาย เช่น ใช้โปรแกรม eXtreme หรือโปรแกรม ALL IN ONE เล่นสองระบบ ขออนุญาตและชำระค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำวีซีดี ซึ่งอัตราสูงกว่าแบบมิดี้ฟาย ก็ใช้ได้ทั้งสองระบบ
เกร็ดความรู้ในกรณีที่เปิดคาราโอเกะหลายห้อง
หากเปิดคาราโอเกะแบบเป็นห้องๆ จำนวนหลายห้อง (5 ห้องขึ้นไป) แนะนำให้ใช้ระบบเครือข่าย LAN เก็บเพลงไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ จะเสียค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำถูกกว่าแบบเดี่ยวแยกเครื่อง(Standalone) เพราะแบบ Standalone เก็บค่าทำซ้ำตามจำนวนเครื่อง หากเป็นระบบเครือข่าย LAN จะเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำซ้ำแบบเหมาเป็นระบบตามจำนวนห้อง เช่น
ค่ายเพลง RS เก็บค่าทำซ้ำวีซีดีลงฮาร์ดดิสก์เครื่องแบบ Standalone อัตราปีละ 4,500 บาท/ต่อเครื่อง/ต่อปี
หากเป็นระบบเครือข่าย LAN เก็บตามจำนวนห้องที่ให้บริการคาราโอเกะ เช่น 2-5 ห้อง ค่าทำซ้ำวีซีดีลงฮาร์ดดิสก์ปีละ 8,000 บาท และ 6-10 ห้อง ปีละ 12,000 บาท บริษัทอื่นๆ ก็จัดเก็บลักษณะเดียวกัน ส่วนค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนเก็บตามจำนวนห้อง อัตราเท่ากันทั้งแบบ Standalone และแบบระบบแลน
อยากมีห้องคาราโอเกะบริการสักสองห้องงทำไงครับ
คุณ สิงขร ครับ ผมจัดส่งราคาและรายละเอียดเครื่องเล่นคาราโอเกะและเครื่องเสียง ตามอีเมล์ให้เรียบร้อยครับ